พิธีส่งมอบเครื่องบำบัดอากาศที่มีมลพิษเเละฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 ต้นแบบ รุ่นที่ ๒
Created
02 กุมภาพันธ์ 2564
มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ รับมอบเครื่องบำบัดอากาศที่มีมลพิษและฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 รุ่นที่ 2 ต้นแบบ จาก GC โดยให้ผู้ที่สนใจสามารถนำไปจัดสร้างได้เอง
โดยลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ทดสอบแล้วประสิทธิภาพเห็นผลจริง
โดยลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ทดสอบแล้วประสิทธิภาพเห็นผลจริง
วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ พลเรือเอก พงษ์เทพ หนูเทพ องคมนตรี ในฐานะประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
เป็นประธานในพิธีส่งมอบเครื่องบำบัดอากาศที่มีมลพิษและฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 ต้นแบบ รุ่นที่ 2 จากบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด(มหาชน) หรือ GC
โดยเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือโครงการทดสอบและพัฒนาต่อยอดเครื่องบำบัดอากาศที่มีมลพิษและฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 ร่วมกัน
เป็นประธานในพิธีส่งมอบเครื่องบำบัดอากาศที่มีมลพิษและฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 ต้นแบบ รุ่นที่ 2 จากบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด(มหาชน) หรือ GC
โดยเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือโครงการทดสอบและพัฒนาต่อยอดเครื่องบำบัดอากาศที่มีมลพิษและฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 ร่วมกัน
พลเรือเอก พงษ์เทพ หนูเทพ ได้กล่าวถึงปัญหามลภาวะทางอากาศเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อสุขภาพของประชาชนในหลายพื้นที่ของประเทศ
มูลนิธิน้อมนำพระบรมราโชบายของ #พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการบรรเทาทุกข์ที่เกิดขึ้นให้แก่ประชาชน ได้จัดสร้างเครื่องบำบัดอากาศฯ รุ่นที่ ๑
เป็นเครื่องต้นแบบที่ทางมูลนิธิออกแบบไว้ จำนวน ๑๓ เครื่อง โดย GC ได้สนับสนุนงบประมาณจัดสร้างจำนวน ๘ เครื่อง และทดสอบนำร่องใช้งานใน ๒ พื้นที่
ได้แก่บริเวณโดยรอบวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามและบริเวณโดยรอยวังสระปทุม เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักการระบบบำบัดแบบเวนทูรีสครับเบอร์
(Venturi Scrubber) ซึ่งเป็นระบบบำบัดอากาศแบบเปียกใช้น้ำเป็นตัวกลางในการดักจับฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ติดมากับมวลอากาศ
มูลนิธิน้อมนำพระบรมราโชบายของ #พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการบรรเทาทุกข์ที่เกิดขึ้นให้แก่ประชาชน ได้จัดสร้างเครื่องบำบัดอากาศฯ รุ่นที่ ๑
เป็นเครื่องต้นแบบที่ทางมูลนิธิออกแบบไว้ จำนวน ๑๓ เครื่อง โดย GC ได้สนับสนุนงบประมาณจัดสร้างจำนวน ๘ เครื่อง และทดสอบนำร่องใช้งานใน ๒ พื้นที่
ได้แก่บริเวณโดยรอบวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามและบริเวณโดยรอยวังสระปทุม เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักการระบบบำบัดแบบเวนทูรีสครับเบอร์
(Venturi Scrubber) ซึ่งเป็นระบบบำบัดอากาศแบบเปียกใช้น้ำเป็นตัวกลางในการดักจับฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ติดมากับมวลอากาศ
ทั้งนี้การพัฒนาในระยะที่ ๒ GC สนับสนุนบุคลากรนักวิจัย องค์ความรู้และนวัตกรรมการออกแบบ เพื่อพัฒนาต่อยอดเครื่องบำบัดอากาศที่มีมลพิษและฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 รุ่นที่ ๒ โดยใช้หลักการบำบัดด้วยตัวกรอง (Filter) สำหรับผลการทดสอบเครื่องบำบัดอากาศฯ รุ่นที่ ๒ นี้พบว่า เครื่องบำบัดอากาศฯ มีประสิทธิภาพในการบำบัดฝุ่น PM 2.5 ประมาณ ๙๕.๗ % เมื่อทดสอบบำบัดฝุ่นในห้องระบบปิด โดยสามารถบำบัดฝุ่น PM 2.5 ปริมาณ ๕๐๐-๗๐๐ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ให้เหลือเพียง ๒๐-๓๐ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร และเมื่อทดสอบบำบัดฝุ่นในระบบเปิด สามารถบำบัดฝุ่น PM 2.5 ปริมาณ ๗๐๐-๒,๐๐๐ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ให้เหลือเพียง ๕๐-๖๐ ไมโครกรัม/
ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเครื่องบำบัดอากาศฯ รุ่นที่ ๒ นี้ มีอัตราการดูดอากาศมากกว่า ๑๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง
ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเครื่องบำบัดอากาศฯ รุ่นที่ ๒ นี้ มีอัตราการดูดอากาศมากกว่า ๑๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง
ในส่วนของการบำบัดอากาศ มีการติดตั้งตัวกรอง (Filter) ที่มีประสิทธิภาพการกรองฝุ่นแตกต่างกันในแต่ละชั้น จำนวน ๓ ชั้นด้วยกัน
โดยชั้นที่ ๑ ประกอบด้วย Pre-Filterการกรองหยาบ
ชั้นที่ ๒ เป็น Medium Filter ไส้กรองชนิดถุง
ชั้นที่ ๓ Fine Filter สำหรับกรองละเอียด ซึ่งสามารถกรองฝุ่น ePM1 (ขนาด ๐.๓-๑ ไมครอน) ได้เฉลี่ย ๙๕% ตามมาตรฐานแผ่นกรองอากาศ EN 779 : 2012
หรือเทียบเท่ามาตรฐาน ISO 16890 : 2016 การออกแบบโดยใช้ตัวกรองทั้ง ๓ ชั้นนี้ ช่วยยืดอายุการใช้งานของตัวกรอง (Filter) ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาเครื่องต่ำ
โดยชั้นที่ ๑ ประกอบด้วย Pre-Filterการกรองหยาบ
ชั้นที่ ๒ เป็น Medium Filter ไส้กรองชนิดถุง
ชั้นที่ ๓ Fine Filter สำหรับกรองละเอียด ซึ่งสามารถกรองฝุ่น ePM1 (ขนาด ๐.๓-๑ ไมครอน) ได้เฉลี่ย ๙๕% ตามมาตรฐานแผ่นกรองอากาศ EN 779 : 2012
หรือเทียบเท่ามาตรฐาน ISO 16890 : 2016 การออกแบบโดยใช้ตัวกรองทั้ง ๓ ชั้นนี้ ช่วยยืดอายุการใช้งานของตัวกรอง (Filter) ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาเครื่องต่ำ
Gallery